เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[1027] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ซึ่งเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นมหัคคตะ1
[1028] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรค และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัปปมาณะ1
13. ปริตตารัมมณติกะ
[1029] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปริตตะเป็นอารมณ์1
[1030] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมหัคคตะเป็นอารมณ์1
[1031] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีอัปปมาณะเป็นอารมณ์1
14. หีนติกะ
[1032] สภาวธรรมชั้นต่ำ เป็นไฉน
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าธรรมชั้นต่ำ1
[1033] สภาวธรรมชั้นกลาง เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 92

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :265 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เป็นอารมณ์ของอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมชั้นกลาง1
[1034] สภาวธรรมชั้นประณีต เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรค และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นประณีต1
15. มิจฉัตตติกะ
[1035] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
อนันตริยกรรม 5 และมิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอน1
[1036] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
มรรค 4 ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะชอบ
และให้ผลแน่นอน1
[1037] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่
เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น1
16. มัคคารัมมณติกะ
[1038] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีมรรคเป็นอารมณ์1
[1039] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 92

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :266 }