เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โลภะ โทสะ โมหะที่
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
[1018] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นไฉน
โลภะ โทสะ โมหะที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน 3 กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 31
[1019] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน 3 เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศลอกุศลและอัพยากฤตที่
เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน 3
10. อาจยคามิติกะ
[1020] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นอารมณ์ของอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ1

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 91

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :263 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[1021] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน
มรรค 4 ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึง
นิพพาน1
[1022] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิจุติและนิพพาน เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ซึ่งไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิจุติและนิพพาน1
11. เสกขติกะ
[1023] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล เป็นไฉน
มรรค 4 ซึ่งไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และสามัญญผล 3 เบื้องต่ำ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นของเสขบุคคล2
[1024] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล เป็นไฉน
อรหัตตผลอันตั้งอยู่เบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของอเสขบุคคล
[1025] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่
เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล
12. ปริตตติกะ
[1026] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นกามาวจรทั้งหมด ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปริตตะ2

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 91 2 อภิ.สงฺ.อ. 92

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :264 }