เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด
และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
9. ทัสสนเหตุติกะ
[1013] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
สังโยชน์ 3 คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามาส
[1014] บรรดาสังโยชน์ 3 นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ฯลฯ นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ
[1015] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
[1016] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
ฯลฯ นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส
[1017] สังโยชน์ 3 เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3
นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ 3 นั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรมที่มีสังโยชน์ 3 นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค1
สังโยชน์ 3 คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามาส

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 91

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :262 }