เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[1004] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสุขนั้น เว้นสุขใน
กามาวจร รูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งสุขแล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข
[1005] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอุเบกขานั้น เว้น
อุเบกขาในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
อันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา
8. ทัสสนติกะ
[1006] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
สังโยชน์ 3 คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามาส
[1007] บรรดาสังโยชน์ทั้ง 3 เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตนหรือเห็นตนมีรูป
เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตนหรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาใน
ตนหรือเห็นตนในเวทนา เห็นสัญญาเป็นตนหรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน
หรือเห็นตนในสัญญา เห็นสังขารเป็นตนหรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตนหรือ
เห็นตนในสังขาร เห็นวิญญาณเป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณใน
ตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ
ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความ
ยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอัน
เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สักกายทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :260 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[1008] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ
ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็น
สองทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดย
ส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็น
ยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา
[1009] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้
ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดาร
คือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ
ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียก
ว่าสีลัพพตปรามาส
[1010] สังโยชน์ 3 เหล่านี้และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3
นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ 3 นั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีสังโยชน์ 3 นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
[1011] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นไฉน
โลภะ โทสะ โมหะที่เหลือ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 31
[1012] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน 3 เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 91

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :261 }