เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่
กรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน1
[995] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็น
กิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปที่กรรมไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
[996] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
5. สังกิลิฏฐติกะ
[997] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศล
มูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส1
[998] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 90

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :258 }