เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
3. นิกเขปกัณฑ์
ติกนิกเขปะ
1. กุสลติกะ
[985] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[986] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศล
มูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุต
ด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[987] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง1 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
2. เวทนาติกะ
[988] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาขันธ์นั้น
เว้นสุขเวทนาในกามาวจร รูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิด
แห่งสุขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เชิงอรรถ :
1 อสงฺขตา จ ธาตุ (ที.สี.อ. 259)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :256 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[989] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนานั้น เว้น
ทุกขเวทนาในกามาวจรอันเป็นที่เกิดแห่งทุกขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
[990] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เว้นอทุกขมสุขเวทนาในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งอทุกขมสุขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา
3. วิปากติกะ
[991] สภาวธรรมที่เป็นวิบาก1เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นวิบาก1
[992] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และ
ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[993] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบาก
4. อุปาทินนติกะ
[994] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 88

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :257 }