เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ อัฏฐกนิทเทส
ฉักกนิทเทส
[972] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณรู้ได้คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ 6 อย่างนี้
ฉักกนิทเทส จบ

สัตตกนิทเทส
[973] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนธาตุรู้ได้คือรูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ 7 อย่างนี้
สัตตกนิทเทส จบ

อัฏฐกนิทเทส
[974] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข รูปที่กายวิญญาณรู้ได้
คือโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ รูปที่มโนธาตุรู้ได้คือรูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้
คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ 8 อย่างนี้
อัฏฐกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :253 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทสกนิเทส
นวกนิทเทส
[975] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์
[976] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ เป็นอิตถินทรีย์ ฯลฯ เป็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ เป็น
ชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปนี้
ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์
[977] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทรีย์
รวมรูปหมวดละ 9 อย่างนี้
นวกนิทเทส จบ

ทสกนิทเทส
[978] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูป
นี้ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์
[979] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ เป็นอิตถินทรีย์ ฯลฯ เป็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ
เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :254 }