เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
มหาภูตโอฬาริกจตุกกะ
[958] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[959] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[960] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[961] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
มหาภูตทูเรจตุกกะ
[962] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[963] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[964] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[965] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
ทิฏฐาทิจตุกกะ
[966] รูปที่เห็นได้คือรูปายตนะ1 รูปที่สดับได้คือสัททายตนะ รูปที่ทราบได้คือ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่รู้แจ้งได้ด้วยใจคือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ 4 อย่างนี้
จตุกกนิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 396

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :251 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ปัญจกนิทเทส
ปัญจกนิทเทส
[967] รูปที่เป็นปฐวีธาตุ นั้นเป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็งภายในตนหรือ
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปฐวีธาตุ
[968] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูปภายในตนหรือภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อ
ว่าเป็นอาโปธาตุ
[969] รูปที่เป็นเตโชธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่นภายในตนหรือภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
หรือที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นเตโชธาตุ
[970] รูปที่เป็นวาโยธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูปภายในตนหรือ
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นวาโยธาตุ
[971] รูปที่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
รวมรูปหมวดละ 5 อย่างนี้
ปัญจกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :252 }