เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่า
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[887] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
ขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[888] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้
ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[889] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
นี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
[890] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบได้
[891] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบ
ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :239 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[892] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบได้
[893] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบไม่ได้
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
[894] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[895] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[896] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[897] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อุปาทาทูเรจตุกกะ
[898] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[899] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[900] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[901] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
อุปาทินนสนิทัสสนจตุกกะ
[902] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่เห็นได้
นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :240 }