เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[866] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็น
กัมมัญญตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสอุปจยติกะ
[867] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
[868] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ เป็นความเจริญแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า
เป็นอุปจยรูป
[869] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
อัชฌัตติกนรูปัสสสันตติติกะ
[870] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
[871] รูปที่เป็นภายนอกเป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า
เป็นสันตติรูป
[872] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
อัชฌัตติกนรูปัสสชรตาติกะ
[873] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
[874] รูปที่เป็นภายนอกเป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :236 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ของรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
ชรตารูป
[875] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสอนิจจตาติกะ
[876] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
[877] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ
หายไปแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
[878] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
อัชฌัตติกนกวฬิงการาหารติกะ
[879] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
[880] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่ง
มีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
กวฬิงการาหาร
[881] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
สุขุมรูปติกะ จบ
รวมรูปหมวดละ 3 อย่างนี้
ติกนิทเทส จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :237 }