เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
ปุริสินทรีย์
[633] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ
ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์1
ชีวิตินทรีย์
[634] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์1
กายวิญญัติ
[635] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ
หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับ
อยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็น
กายวิญญัติ
วจีวิญญัติ
[636] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา
วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต นี้
เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่
แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/220/146

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :203 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
อากาสธาตุ
[637] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง
เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งมหาภูตรูป 4 ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า
เป็นอากาสธาตุ
ลหุตารูป
[638] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น
ลหุตารูป
มุทุตารูป
[639] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น
มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป
[640] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป
รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป
อุปจยรูป
[641] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น
อุปจยรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :204 }