เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
[630] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด
เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ รสใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ
จักกระทบ หรือพึงกระทบที่ชิวหาปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง
รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ
[631] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม
ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัสอาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด
กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า
เป็นรสายตนะ
อิตถินทรีย์
[632] รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิง ของสตรี รูปนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์1

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/220/146

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :202 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
ปุริสินทรีย์
[633] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ
ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์1
ชีวิตินทรีย์
[634] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์1
กายวิญญัติ
[635] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ
หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับ
อยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็น
กายวิญญัติ
วจีวิญญัติ
[636] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา
วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต นี้
เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่
แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/220/146

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :203 }