เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
มีอยู่ โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ
พึงกระทบที่เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง
สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ
[622] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง เสียง
ตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง
ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์
เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่
เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ
ที่โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ
[623] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง
ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์
เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่
เพราะปรารภเสียงใด โสตสัมผัสอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ
พึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ
พึงเกิด ฯลฯ โสตสัมผัสมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนา ที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา
ฯลฯ โสตวิญญาณมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด
หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น
สัททายตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :199 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
คันธายตนะ
[624] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ
ได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
ด้วยฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุ
บ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ1
[625] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ
ได้ มีอยู่ ฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบที่กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ
[626] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น
รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น
เน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป 4 ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ มีอยู่ กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบที่ฆานปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะ
บ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ
[627] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น
รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/164/83

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :200 }