เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรกิริยาจิต
อากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
วิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[581] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าว
ล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
อากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[582] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าว
ล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

อรูปาวจรกิริยาจิต จบ
อัพยากตบท จบ
จิตตุปปาทกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :168 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] เอกกมาติกา
2. รูปกัณฑ์
อุทเทส
[583] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

เอกกมาติกา
[584] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเหล่านั้น รูปทั้งหมด เป็นไฉน
มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นี้เรียกว่ารูปทั้งหมด
รูปทั้งหมดไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็น
อารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็น
อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคต
ด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง
บน 3 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นปริตตะ
เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :169 }