เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[428] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[429] อุทธัจจะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบ ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าอุทธัจจะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 5 ฌานมีองค์ 4 มรรค
มีองค์ 3 พละ 4 เหตุ 1 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธัมมายตนะ 1 และธัมมธาตุ 1 ในสมัยนั้น
หรือ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[430] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่น ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิต 12 จบ

อัพยากตบท
กามาวจรวิปากจิต
ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[431] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้แล้วในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :124 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[432] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[433] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัส
แห่งจักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[434] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[435] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[436] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[437] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[438] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :125 }