เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต 12 อกุศลจิตดวงที่ 1
[388] อโนตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่
ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโนตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[389] โลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่
กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโลภะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[390] โมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตาม
ความเป็นจริง ความไม่รู้แจ้งตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงอย่าง
รอบครอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา
ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงไหล อวิชชา
อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา
อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[391] อภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่
กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอภิชฌาที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[392] มิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อ
สัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความ
ตั้งมั่น ความยึดผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยคลาดเคลื่อน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[393] อหิริกะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่
ไม่ละอายต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อหิริกะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :114 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต 12 อกุศลจิตดวงที่ 1
[394] อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโนตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[395] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[396] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[397] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าอวิกเขปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 5 ฌานมีองค์ 5
มรรคมีองค์ 4 พละ 4 เหตุ 2 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธัมมายตนะ 1 และธัมมธาตุ 1
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[398] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :115 }