เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [45. วิเภทกิวรรค] 6. อัมพาฏกิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[34] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[35] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุมาปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุมาปุปผิยเถราปทานที่ 5 จบ

6. อัมพาฏกิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพาฏกิยเถระ
(พระอัมพาฏกิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[36] พระมุนีพระนามว่าเวสสภู เสด็จเข้าไปยังป่าไม้สาละ
ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา
ดุจพญาราชสีห์มีชาติสูง
[37] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ดอกมะกอกบูชาพระมหาวีระ
ผู้เป็นเนื้อนาบุญด้วยมือทั้ง 2 ของตน
[38] ในกัปที่ 31 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :81 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [45. วิเภทกิวรรค] 7. สีหาสนิกเถราปทาน
[39] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[40] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[41] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพาฏกิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพาฏกิยเถราปทานที่ 6 จบ

7. สีหาสนิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสีหาสนิกเถระ
(พระสีหาสนิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[42] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายพระแท่นสีหาสน์1แด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์
[43] ข้าพเจ้าอยู่ในโลกใด ๆ
คือจะเป็นเทวโลกหรือมนุษยโลกก็ตาม

เชิงอรรถ :
1 พระแท่นสีหาสน์ ในที่นี้หมายถึงอาสนะที่มีรูปราชสีห์ ประดับด้วยเงิน ทอง และรัตนะ (ขุ.อป.อ.
2/21/219) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงอาสนะชั้นดี (ขุ.อป.อ. 2/27/243)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :82 }