เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [44. เอกวิหาริวรรค] 9. อัมพปิณฑิยเถราปทาน
9. อัมพปิณฑิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพปิณฑิยเถระ
(พระอัมพปิณฑิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[72] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพญาช้างมีงางอนงาม1
เหมาะที่จะเป็นราชพาหนะ
เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[73] ข้าพเจ้าได้หยิบชิ้นมะม่วงมาถวายพระศาสดา
พระมหาวีระพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกทรงรับแล้ว
[74] ขณะที่ข้าพเจ้าเพ่งดูอยู่ พระชินเจ้าได้เสวยแล้วในครั้งนั้น
ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[75] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว
ได้เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ โดยอุบายนั้นแล
[76] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร
มีจิตสงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะ2 ทั้งปวงแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[77] ในกัปที่ 94 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เชิงอรรถ :
1 มีงางอนงาม หมายถึงมีงางอนเหมือนงอนรถ (ขุ.อป.อ. 1/657/377, ขุ.อป.อ. 2/179-80/370)
2 อาสวะ หมายถึงกิเลสเครื่องหมักดองมี 4 คือ (1) กามาสวะ (2) ภวาสวะ (3) ทิฏฐาสวะ (4) อวิชชาสวะ
(ขุ.เถร.อ. 2/596/235, ที.ปา. (แปล) 11/305/264, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/198/311)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :71 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [44. เอกวิหาริวรรค] 10. ชัมพูผลิยเถราปทาน
[78] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[79] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[80] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพปิณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปิณฑิยเถราปทานที่ 9 จบ

10. ชัมพูผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชัมพูผลิยเถระ
(พระชัมพูผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[81] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ทรงพระยศอย่างสูงสุด
ซึ่งกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
[82] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ถือเอาผลหว้าไปถวายพระศาสดา
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[83] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :72 }