เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ 2. สุเมธกถา
[10] เมื่อความทุกข์มี ชื่อว่าความสุขก็ต้องมีฉันใด
เมื่อภพมีอยู่ วิภพ1ก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[11] เมื่อความร้อนมี ความเย็นอย่างอื่นก็ต้องมีฉันใด
เมื่อไฟ 32 อย่างมีอยู่
นิพพาน(ความดับ)ก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[12] เมื่อความชั่วมี แม้ความดีก็ต้องมี ฉันใด
เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[13] บุรุษผู้ตกไปในหลุมคูถเห็นสระน้ำเต็ม
ไม่เข้าไปยังสระน้ำนั้น นั้นไม่ใช่ความผิดของสระน้ำ ฉันใด
[14] เมื่อสระน้ำอมฤต3มีอยู่ บุคคลไม่แสวงหาสระน้ำนั้น
อันเป็นที่ชำระมลทินคือกิเลส
นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของสระน้ำอมฤต ฉันนั้น
[15] เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษนั้นถูกข้าศึกปิดล้อมไม่ยอมหนีไป
นั้นไม่ใช่ความผิดของหนทาง ฉันใด
[16] เมื่อทางเกษมมีอยู่ บุคคลถูกกิเลสปิดล้อม
ไม่แสวงหาทางนั้น นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของทางอันเกษม ฉันนั้น
[17] คนป่วย เมื่อหมอมีอยู่ ก็ไม่ให้หมอเยียวยา
ความป่วยไข้นั้น นั้นไม่ใช่ความผิดของหมอ ฉันใด
[18] คนมีทุกข์ถูกความป่วยไข้คือกิเลสเบียดเบียน
ไม่แสวงหาอาจารย์ นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ผู้แนะนำ

เชิงอรรถ :
1 วิภพ หมายถึงธรรมที่ไม่ให้เกิด (ขุ.พุทธ.อ. 10/110)
2 ไฟ 3 หมายถึงไฟคือราคะ โทสะ และโมหะ (ที.ปา. (แปล) 11/305/268)
3 สระน้ำอมฤต ในที่นี้หมายถึงนิพพาน ( ขุ.พุทฺธ.อ. 14/111)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :569 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ 2. สุเมธกถา
เอาเถิดเราควรเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ไม่มีความต้องการ ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่า
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย ฉันนั้น
[19] คนปลดเปลื้องซากศพที่น่ารังเกียจที่ผูกไว้ที่คอแล้ว
ไปอยู่เป็นสุขอย่างเสรีตามลำพังตน ฉันใด
[20] เราไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ
ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่าเป็นที่รวมซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย ฉันนั้น
[21] คนชายหญิงถ่ายอุจจาระลงในส้วม
แล้วละทิ้งส้วมไปไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ ฉันใด
[22] เราจักละทิ้งร่างกายที่เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย
ดุจคนถ่ายอุจจาระ(ลงในส้วม) แล้วละทิ้งส้วมไป ฉันนั้น
[23] เจ้าของเรือทิ้งเรือที่คร่ำคร่า ชำรุด น้ำไหลเข้าได้ไป
อย่างไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ ฉันใด
[24] เราจักละทิ้งร่างกายนี้ที่มีทวาร 9
มีของไม่สะอาดไหลออกอยู่เป็นนิตย์ไปเสีย
ดุจเจ้าของเรือละทิ้งเรือที่คร่ำคร่าไป ฉันนั้น
[25] บุรุษนำสิ่งของมีค่าไปกับพวกโจร
เห็นภัยคือการถูกปล้นสิ่งของจึงละทิ้ง(โจร)ไปเสีย ฉันใด
[26] กายนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เปรียบเสมอด้วยมหาโจร
เราจักละกายนี้ไปเพราะกลัวแต่การปล้นกุศลธรรม ฉันนั้น
[27] ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิ
แก่คนมีที่พึ่งและไม่มีที่พึ่งแล้วเข้าไปยังภูเขาหิมพานต์
[28] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อธรรมิกะ
เราสร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :570 }