เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ 2. สุเมธกถา
[78] พระศาสดา ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงนกการเวก
อันพระสารีบุตรนั้นทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์ให้เย็นใจ
และทรงทำมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง
[79] พระศาสดาทรงประกาศประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ที่พระพุทธชินเจ้าในอดีตทรงแสดงไว้ ทรงชมเชย
ที่นำสืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า
ด้วยพระพุทธญาณที่ไปตามปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกว่า
[80] ท่านทั้งหลายจงทำจิตให้เกิดปีติปราโมทย์
ให้บรรเทาลูกศรคือความเศร้าโศก ให้ได้สมบัติทั้งปวงแล้วจงฟังเรา
[81] ท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามมรรคที่ย่ำยีความเมา
บรรเทาความเศร้าโศก เปลื้องตนจากสงสาร
เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพเถิด
รตนจังกมนกัณฑ์ จบ

2. สุเมธกถา
ว่าด้วยสุเมธพุทธเจ้า
[1] ใน 4 อสงไขย 100,000 กัป
มีนครหนึ่งชื่อว่าอมระ เป็นนครที่น่าชม น่ารื่นรมย์ใจ
[2] เป็นนครที่สมบูรณ์ด้วยข้าว น้ำ
ไม่ว่างเว้นจากเสียง 10 ประการ
คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์
เสียงรถ(เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงเพลงขับ เสียงฉิ่ง)
และเสียงเชื้อเชิญด้วยของกินและเครื่องดื่มว่า
เชิญท่านเคี้ยวกิน เชิญท่านดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :567 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ 2. สุเมธกถา
[3] เป็นนครที่สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง
ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ
คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่าง ๆ
เป็นนครที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเทพนคร
เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ
[4] เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
อยู่ในกรุงอมรวดี สั่งสมทรัพย์ไว้หลายโกฏิ
มีทรัพย์สมบัติและธัญญาหารมากมาย
[5] เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท
ถึงความสำเร็จในคัมภีร์ทำนายลักษณะ1
และอิติหาสะ2และในธรรมของตน
[6] นั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า
การเกิดในภพใหม่ และการแตกไปแห่งสรีระเป็นทุกข์
ความหลงตายเป็นทุกข์ ชีวิตถูกชราย่ำยี
[7] ก็ครั้งนั้น เรามีความเกิด ความแก่
ความป่วยไข้เป็นธรรมดา
เราจักแสวงหาพระนิพพาน
ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม
[8] เอาเถิด เราควรเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ไม่มีความต้องการ ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่า
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย
[9] มรรคนั้นไม่อาจจะไม่เป็นเหตุ มรรคนั้นที่มีอยู่ก็จักมี
เราจักแสวงหามรรคนั้น เพื่อหลุดพ้นไปจากภพ

เชิงอรรถ :
1 ทำนายลักษณะ หมายถึงทำนายลักษณะหญิง ลักษณะชาย ลักษณะมหาบุรุษ (ขุ.พุทฺธ.อ. 5/108)
2 อิติหาสะ หมายถึงคัมภีร์พิเศษ ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ของพราหมณ์ว่าด้วยคำพูดว่าเป็นเช่นนี้ (ขุ.พุทฺธ.อ
5/108)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :568 }