เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ 1. รตนจังกมนกัณฑ์
พระผู้มีพระภาคผู้ศากยมุนี ผู้ประเสริฐ
ประทับนั่งท่ามกลางบัลลังก์นั้น
แสดงมหาเวสสันดรชาดก แก่พระราชบิดาท่ามกลางบัลลังก์นั้น
สัตว์ 84,000 ได้บรรลุธรรม
[3] (พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า)
มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาเหล่านี้ไม่รู้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชนนี้เป็นเช่นไร
พระพุทธเจ้าผู้ทรงประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ทรงมีกำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเช่นไร มีพุทธพลัง1เช่นไร
[4] มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาเหล่านี้ไม่รู้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดแห่งนรชนนี้เป็นเช่นนี้
พระพุทธเจ้าผู้ทรงประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นนี้ มีพุทธพลังเช่นนี้
[5] เอาละ เราจักแสดงพุทธพลังอันยอดเยี่ยม
จักเนรมิตที่จงกรมซึ่งประดับด้วยรัตนะในนภากาศ”
[6] เทวดาประจำภาคพื้น เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี และเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
ต่างก็ยินดี ได้พากันส่งเสียงอื้ออึงกึกก้อง
[7] พื้นแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกสว่างไสว
โลกันตนรกจำนวนมากที่ไม่เชื่อมติดกัน
และความมืดอันหนาทึบถูกขจัดไปในกาลนั้น
เพราะเห็นปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์

เชิงอรรถ :
1 พุทธพลัง หมายถึงพุทธานุภาพ ทศพลญาณ (ขุ.พุทฺธ.อ. 3-5/2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :556 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ 1. รตนจังกมนกัณฑ์
[8] แสงสว่างเจิดจ้าอย่างโอฬาร ได้เกิดแผ่ซ่านไปในโลกทั้ง 2
คือในโลกนี้และโลกอื่นพร้อมด้วยเทวดา
คนธรรพ์ มนุษย์ และรากษส
แผ่ไปตลอดพื้นที่กว้างขวางทั้งเบื้องล่าง เบื้องบน และเบื้องขวาง
[9] พระศาสดาผู้ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า
ทรงเป็นผู้นำวิเศษ อันเทวดาและมนุษย์บูชา
ทรงมีอานุภาพมาก มีบุญลักษณะนับร้อย
ทรงแสดงปาฏิหาริย์1 ที่น่าอัศจรรย์
ในสมาคมนั้น พระชินเจ้าผู้พระศาสดา
เสด็จเหาะขึ้นในนภากาศแล้ว
ทรงเนรมิตภูเขาสิเนรุราชให้เป็นที่จงกรมที่รื่นรมย์
ทวยเทพในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาลนมัสการพระตถาคตแล้ว
กระทำการบูชาพุทธเจ้าในสำนักของพระชินเจ้า
[10] ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
อันท้าวสหัมบดีพรหมผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทูลอาราธนาแล้ว
ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์
ทรงเนรมิตที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะทุกชนิดสำเร็จดีแล้ว
[11] พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงมีความชำนาญในปาฏิหาริย์ 3 อย่างคือ
อิทธิปาฏิหาริย์2 อาเทสนาปาฏิหาริย์3

เชิงอรรถ :
1 ปาฏิหาริย์ หมายถึงการกระทำที่กำจัดหรือทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้ การกระทำที่ให้เห็นเป็นอัศจรรย์ หรือ
การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์
2 อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึงปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ (ที.สี. (แปล) 9/484/214, ขุ.ปฏิ.
(แปล) 31/30/436)
3 อาเทสนาปาฏิหาริย์ หมายถึงปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนการของจิตจนสามารถกำหนด
อาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์ (ที.สี. (แปล) 9/485/
215, ที.ปา. (แปล) 11/305/275 ขุ.ป. (แปล) 31/30/436)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :557 }