เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [4. ขัตติยกัญญาวรรค] 8. ปุณณิกาเถริยาปทาน
[178] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[179] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[180] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[181] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[182] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[183] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอัฑฒกาสีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัฑฒกาสีเถริยาปทานที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :544 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [4. ขัตติยกัญญาวรรค] 8. ปุณณิกาเถริยาปทาน
8. ปุณณิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุณณิกาเถรี
(พระปุณณิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[184] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมุนี ผู้คงที่
ทรงพระนามว่าพระวิปัสสี 1 พระสิขี 1 พระเวสสภู 1
พระกกุสันธะ 1 พระโกนาคมนะ 1 พระกัสสปะ 1
[185] หม่อมฉันบวชเป็นภิกษุณีในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญารักษาตน สำรวมอินทรีย์
[186] เป็นพหูสูต ทรงธรรม สอบถามเหตุและผล
เล่าเรียน สดับธรรม เป็นผู้นั่งใกล้
[187] หม่อมฉันแสดงคำสอนของพระชินเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน
ได้เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก ดูหมิ่นเพราะความเป็นพหูสูตนั้น
[188] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในเรือนแห่งนางกุมภทาสี
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีในกรุงสาวัตถีที่ประเสริฐสุด
[189] หม่อมฉันไปตักน้ำ ได้เห็นโสตถิยพราหมณ์
นั่งหนาวสั่นอยู่ท่ามกลางน้ำ
ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ฉันเป็นคนตักน้ำ
[190] กลัวภัยต่ออาชญาของเจ้านาย
และถูกภัยคือวาจาที่เกรี้ยวกราดของเจ้านายเบียดเบียน
จึงต้องลงน้ำเป็นประจำในฤดูหนาว
[191] พราหมณ์เอ๋ย ท่านกลัวใคร จึงต้องลงน้ำเป็นประจำ
มีร่างกายสั่นเทา รู้สึกหนาวรุนแรงใช่ไหม’
[192] (พรามหณ์ได้กล่าวว่า) ‘นางปุณณิกาผู้เจริญ
เธอทั้งที่รู้อยู่ยังสอบถามเราผู้ทำกุศลกรรม
เพื่อกำจัดบาปกรรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :545 }