เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [3. กุณฑลเกสีวรรค] 7. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[241] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[242] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[243] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระโสณาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โสณาเถริยาปทานที่ 6 จบ

7. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททกาปิลานีเถรี
(พระภัททกาปิลานีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[244] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ 100,000 นับจากกัปนี้ไป
[245] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นภริยาของเศรษฐีชื่อว่าวิเทหะ
มีรัตนะมาก ในกรุงหงสวดี
[246] บางคราวเศรษฐีนั้นพร้อมด้วยชนที่เป็นบริวาร
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังสุริยเทพบุตร
ได้ฟังพระธรรมอันนำความสิ้นทุกข์ทั้งปวงมาให้
ของพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :487 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [3. กุณฑลเกสีวรรค] 7. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[247] พระองค์ทรงเป็นผู้นำประกาศสรรเสริญภิกษุ
ผู้เป็นสาวกรูปหนึ่งว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์
หม่อมฉันได้ฟังแล้ว ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้คงที่ตลอด 7 วัน
[248] แล้วซบศีรษะลงแทบพระยุคลบาทปรารถนาตำแหน่งนั้น
ก็ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐแห่งนระ
เมื่อจะทรงให้บริษัทร่าเริง
[249] ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ เพื่อทรงอนุเคราะห์เศรษฐีว่า
‘ดูก่อนบุตร เธอจักได้ตำแหน่งที่เธอปรารถนา
จงเป็นผู้เย็นใจเถิด
[250] ในกัปที่ 100,000 นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[251] เธอจักมีนามปรากฏว่ากัสสปะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[252] เศรษฐีได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[253] พระองค์ทรงประกาศศาสนาให้รุ่งเรืองแล้ว
ย่ำยีเดียรถีย์ผู้หลอกลวงได้แล้ว
ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ (คือผู้ที่ควรแนะนำได้)
พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว
[254] เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศในโลกนั้นปรินิพพานแล้ว
เพื่อจะบูชาพระศาสดา เศรษฐีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :488 }