เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. เอกูโปสถิกวรรค] 9. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[380] พระชินเจ้าผู้สูงสุดแห่งนระ
ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก
[381] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[382] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[383] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเขมาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เขมาเถริยาปทานที่ 8 จบ

9. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุบลวรรณาเถรี
(พระอุบลวรรณาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[384] พระอุบลวรรณาภิกษุณีถึงความสำเร็จแห่งฤทธิ์
กราบไหว้พระยุคลบาทของพระศาสดาแล้วกราบทูลคำนี้ว่า
[385] “ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันข้ามพ้นชาติสงสารได้แล้ว
บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว ทุกข์ทั้งปวงหม่อมฉันให้สิ้นไปแล้วจึงขอบอกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :438 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [2. เอกูโปสถิกวรรค] 9. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[386] “ขอประชุมชนผู้เลื่อมใสในศาสนาของพระชินเจ้า
และชนที่ข้าพเจ้าได้ทำความผิดให้เท่าที่มีอยู่
จงยกโทษให้ข้าพเจ้า เฉพาะพระพักตร์ของพระชินเจ้า
[387] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันขอกราบทูลว่า
เมื่อหม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร
ถ้าหม่อมฉันมีความผิดพลาด
ขอพระองค์จงยกโทษให้หม่อมฉันด้วยเถิด”
[388] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบลวรรณา
ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา เธอจงแสดงฤทธิ์
และตัดความสงสัยของบริษัท 4 เท่าที่มีอยู่ ในวันนี้เถิด”
[389] พระอุบลวรรณาเถรีกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระปัญญา ผู้ทรงพระรัศมีรุ่งเรือง
หม่อมฉันเป็นธิดาของพระองค์
กรรมที่ทำได้ยาก ทำได้แสนลำบากจำนวนมาก
หม่อมฉันได้ทำแล้ว
[390] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ1
หม่อมฉันมีผิวพรรณเหมือนสีดอกอุบล
จึงมีนามว่าอุบลวรรณา
เป็นธิดาของพระองค์ ขอกราบพระยุคลบาท

เชิงอรรถ :
1 ผู้มีพระจักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ 5 คือ (1) มังสจักษุ (ตาเนื้อ คือ ทรงมีพระเนตรงาม มีอำนาจ
เห็นแจ่มใสไว และเห็นได้ไกล) (2) ทิพยจักษุ (ตาทิพย์ คือ ทรงมีพระญาณเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่าง ๆ กัน
ด้วยอำนาจกรรม) (3) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุ
ให้สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรมเป็นต้น) (4) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า คือ ทรงประกอบด้วยอินทริย-
ปโรปริยัตตญาณและอาสยานุสยญาณเป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์แล้วทรงสั่งสอน
แนะนำให้บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ (ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์) (5) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ คือ ทรงประกอบ
ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ) (ขุ.ม. (แปล) 29/51/42)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :439 }