เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [55. ภัททิยวรรค] 4. วังคีสเถราปทาน
[132] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำ
ได้แสดงกะโหลกศีรษะของพระขีณาสพ
เพราะศีรษะนั้น ข้าพเจ้าหมดมานะ
จึงทูลขอบรรพชา อย่างอ่อนน้อม
[133] ครั้นบรรพชาแล้ว ได้กล่าวสรรเสริญพระสุคตทุก ๆ แห่ง
เมื่อนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษข้าพเจ้าว่าเป็นจินตกวี
[134] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้ตรัสถามข้าพเจ้าเพื่อทดลองว่า
คาถาเหล่านี้ ย่อมแจ่มแจ้งโดยสมควรแก่เหตุแก่คนทั้งหลาย
ผู้ตรึกตรองแล้วมิใช่หรือ
[135] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ข้าพระองค์มิใช่นักกาพย์กลอน แต่ว่าคาถาทั้งหลาย
แจ่มแจ้งโดยสมควรแก่เหตุแก่ข้าพระองค์
วังคีสะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงกล่าวสดุดีเราโดยสมควรแก่เหตุในบัดนี้
[136] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวคาถาสดุดีพระธีระผู้เป็นฤๅษีผู้ประเสริฐ
ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงพอพระทัยด้วยสมควรแก่เหตุ
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
[137] ข้าพเจ้ามีปฏิภาณอันวิจิตรจึงดูหมิ่นภิกษุรูปอื่น
แต่มีศีลเป็นที่รัก
เกิดความสลดใจเพราะการดูหมิ่นนั้นจึงได้บรรลุอรหัตแล้ว
[138] (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า)
ไม่มีใครอื่นที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ที่มีปฏิภาณเหมือนกับวังคีสภิกษุนี้
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :308 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [55. ภัททิยวรรค] 5. นันทกเถราปทาน
[139] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ 100,000
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[140] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[141] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[142] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วังคีสเถราปทานที่ 4 จบ

5. นันทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[143] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ 100,000 นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :309 }