เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [54. กัจจายนวรรค] 2. วักกลิเถราปทาน
[27] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัจจายนเถราปทานที่ 1 จบ

2. วักกลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวักกลิเถระ
(พระวักกลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[28] พระผู้ทรงเป็นผู้นำมีพระนามไม่ต่ำต้อย
มีพระคุณนับไม่ถ้วน
พระนามว่าปทุมุตตระ ตามพระโคตร
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ 100,000 นับจากกัปนี้ไป
[29] มีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม
มีพระฉวีวรรณงดงาม ไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม
ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ
[30] ทรงเป็นนักปราชญ์ มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
และน่ารักเหมือนดอกปทุม
กลิ่นพระโอษฐ์หอมคล้ายกลิ่นดอกปทุม
เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
[31] พระองค์ทรงเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
ไม่ทรงถือพระองค์เปรียบเป็นนัยน์ตาให้คนบอด1

เชิงอรรถ :
1 เป็นนัยน์ตาให้คนบอด หมายความว่า ทรงประทานปัญญาจักษุให้แก่สรรพสัตว์ด้วยพระธรรมเทศนา
(ขุ.อป.อ. 2/31/267)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :241 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [54. กัจจายนวรรค] 2. วักกลิเถราปทาน
มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่สั่งสมคุณ
เป็นดุจสาครที่รองรับพระกรุณาคุณและพระปัญญาคุณ
[32] ถึงในครั้งไหน ๆ พระมหาวีระพระองค์นั้น
ก็เป็นผู้ที่พรหม อสูร และเทวดาบูชา เป็นผู้สูงสุดในหมู่ชน
ในท่ามกลางหมู่ชนที่คับคั่งไปด้วยเทวดาและมนุษย์
[33] เมื่อจะให้บริษัททั้งปวงยินดีด้วยพระพักตร์มีกลิ่นหอม(เบิกบาน)
และด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง
จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า
[34] ภิกษุอื่นผู้มุ่งมั่นด้วยศรัทธา มีปัญญาดี
มีความอาลัยในการดูเราเช่นกับวักกลิภิกษุนี้ไม่มีเลย
[35] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงหงสวดี
ได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[36] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระตถาคต
ผู้ไม่มีมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก
ให้เสวยและฉันตลอด 7 วันแล้วให้ครองผ้าชุดใหม่
[37] ข้าพเจ้าหมอบลงแล้วจมลง(ดื่มด่ำ)ในสาคร
คือพระอนันตคุณของพระตถาคตพระองค์นั้น
เต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ ได้กราบทูลคำนี้ว่า
[38] ข้าแต่พระมหามุนี ผู้เป็นพระฤาษี
ขอข้าพระองค์จงเป็นเช่นกับภิกษุผู้เป็นสัทธาธิมุต (มุ่งมั่นด้วยศรัทธา)
ที่พระองค์ทรงตรัสชมเชยว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีศรัทธา
[39] เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลดังนี้แล้ว
พระมหามุนีผู้มีความเพียรมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :242 }