เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [54. กัจจายนวรรค] 1. มหากัจจายนเถราปทาน
[21] เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อว่าติปีติวัจฉะ
เป็นผู้ฉลาด เรียนจบพระเวท
ส่วนมารดาของข้าพเจ้าชื่อว่าจันทนปทุมา
ข้าพเจ้าชื่อว่ากัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณสวยงาม
[22] ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดิน
ทรงส่งไปเพื่อพิจารณา(สืบข่าว)พระพุทธเจ้า
ได้เห็นพระผู้นำซึ่งเป็นประตูของโมกขบุรี1
เป็นที่สั่งสมพระคุณ
[23] และได้ฟังพุทธภาษิตที่ปราศจากมลทิน
เป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติ
ได้บรรลุอมตธรรมที่สงบระงับ
พร้อมกับบุรุษที่เหลืออีก 7 คน
[24] ข้าพเจ้าเป็นผู้รู้อธิบายในอมตบทที่ยิ่งใหญ่ของพระสุคต
และมีมโนรถอันสำเร็จด้วยดี ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะ
[25] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[26] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
1 โมกขบุรี หมายถึงบุรีคือพระนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :240 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [54. กัจจายนวรรค] 2. วักกลิเถราปทาน
[27] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัจจายนเถราปทานที่ 1 จบ

2. วักกลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวักกลิเถระ
(พระวักกลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[28] พระผู้ทรงเป็นผู้นำมีพระนามไม่ต่ำต้อย
มีพระคุณนับไม่ถ้วน
พระนามว่าปทุมุตตระ ตามพระโคตร
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ 100,000 นับจากกัปนี้ไป
[29] มีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม
มีพระฉวีวรรณงดงาม ไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม
ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ
[30] ทรงเป็นนักปราชญ์ มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
และน่ารักเหมือนดอกปทุม
กลิ่นพระโอษฐ์หอมคล้ายกลิ่นดอกปทุม
เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
[31] พระองค์ทรงเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
ไม่ทรงถือพระองค์เปรียบเป็นนัยน์ตาให้คนบอด1

เชิงอรรถ :
1 เป็นนัยน์ตาให้คนบอด หมายความว่า ทรงประทานปัญญาจักษุให้แก่สรรพสัตว์ด้วยพระธรรมเทศนา
(ขุ.อป.อ. 2/31/267)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :241 }