เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [49. ปังสุกูลวรรค] 2. พุทธสัญญกเถราปทาน
[7] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[8] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปังสุกูลสัญญกเถราปทานที่ 1 จบ

2. พุทธสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธสัญญกเถระ1
(พระพุทธสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[9] ข้าพเจ้าเป็นผู้สาธยายพระเวท2 ทรงมนตร์3 จบไตรเพท4
ชำนาญในคัมภีร์พยากรณ์ลักษณะ5 คัมภีร์อิติหาสะ6
พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์7 และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์8

เชิงอรรถ :
1 พระพุทธสัญญกเถระ หมายถึง พระวีตโสกเถระ พระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลังพุทธ
ปรินิพพาน 218 ปี (ขุ.เถร.อ. 1/282/454)
2 ผู้สาธยายพระเวท หมายถึงเป็นผู้บอกไตรเพทแก่ชนเหล่าอื่น (ขุ.อป.อ. 1/442/332)
3 ทรงมนตร์ หมายถึงมีปัญญา รอบรู้ในสาขาของพระเวท (ขุ.อป.อ. 1/442/332)
4 ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ 3 คือ ฤคเวท(อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (ขุ.อป.อ. 1/442/332)
5 ลักษณะ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ที.สี.อ. 256/203, ขุ.อป.อ.
1/442/332)
6 คัมภีร์อิติหาสะ หมายถึงประวัติศาสตร์ คือพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้
(ที.สี.อ. 256/223, ขุ.อป.อ. 1/332/442) และดู Dawson, John. A CLASSICAL DICTIONARY
OF HINDU MYTHOLOGY (LONDON; ROUTLEDGE AND KEGAN PAUL 1957) P. 222

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :135 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [49. ปังสุกูลวรรค] 2. พุทธสัญญกเถราปทาน
[10] ครั้งนั้น ศิษย์ทั้งหลายพากันมาหาข้าพเจ้าไม่ขาดสาย
เหมือนกระแสน้ำ ข้าพเจ้าไม่เกียจคร้าน
สอนมนตร์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
[11] ในคราวนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงกำจัดความมืดมนให้พินาศแล้ว
ให้แสงสว่างคือพระญาณเป็นไป
[12] ครั้งนั้น ศิษย์ของข้าพเจ้าคนหนึ่ง
ได้บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
พวกเขาได้ฟังความนั้น จึงบอกแก่ข้าพเจ้า
[13] ข้าพเจ้าคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ชนย่อมประพฤติตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แต่เราไม่มีลาภเลย
[14] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย
มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่ ไฉนหนอ
เราควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[15] ข้าพเจ้าถือหนังสัตว์ ผ้าเปลือกไม้
และคนโทน้ำของข้าพเจ้าแล้ว จึงออกจากอาศรม
เรียกศิษย์ทั้งหลายมา (กล่าวว่า)

เชิงอรรถ :
7 นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพท์มูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์
(Glossary) ซึ่งรวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยากหรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมาย เป็น
ส่วนหนึ่งของปรกติ ซึ่งเป็น 1 ในเวทางคศาสตร์ 6 ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า นิฆัณฏุ
(ที.สี.อ. 1/256/223)
8 เกฏุภศาสตร์ คัมภีร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็น
ส่วนหนึ่งของกัลปะซึ่งเป็น 1 ในเวทางคศาสตร์ 6 ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ
(ที.สี.อ. 1/256/222)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :136 }