เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 7. อัญญาโกณฑัญญเถราปทาน
[600] ข้าพเจ้ารู้จากคำพูดของเหล่าเทวดาที่เปล่งออกมาด้วยวาจา
แล้วมีจิตร่าเริง เบิกบาน ได้ถวายภิกษาครั้งแรก
[601] พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้า
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่เทวดา ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[602] เราออกบวชได้ 7 วันแล้ว จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ
ภัตตาหารที่ถวายเป็นครั้งแรกนี้
เป็นสิ่งที่ช่วยอัตภาพของเราผู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้เป็นไปได้
[603] เราจักพยากรณ์เทพบุตรที่จากสวรรค์ชั้นดุสิตมาในที่นี้
น้อมภิกษาหารเข้ามาถวายแก่เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[604] เทพบุตรนั้นจักครองเทวสมบัติประมาณ 30,000 กัป
ครองสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ ปกครองเทวดาทั้งปวง
[605] ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว
จักไปเกิดเป็นมนุษย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ครองราชสมบัติในโลกมนุษย์นั้น 1,000 ชาติ
[606] ในกัปที่ 100,000 (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[607] เทพบุตรนั้น ครั้นจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว
ไปเกิดเป็นมนุษย์ ออกบวชปฏิบัติอยู่ 6 ปี
[608] ในปีที่ 7 พระพุทธเจ้าจักทรงประกาศสัจจะ
ภิกษุมีนามว่าโกณฑัญญะ ทำให้แจ้งเป็นองค์แรก
[609] พระโพธิสัตว์ออกผนวช
ข้าพเจ้าก็ออกบวชตามบำเพ็ญความเพียรอย่างดี
ข้าพเจ้าบวชเป็นบรรพชิต เพื่อต้องการจะเผากิเลสทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :92 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 8. ปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน
[610] พระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้สิ่งทั้งปวง1 ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ได้เสด็จไปยังป่าใหญ่
ทรงลั่นอมตเภรี2ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ
ที่ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้วนี้
[611] บัดนี้ ข้าพเจ้านั้นได้บรรลุอมตบท สงบ ยอดเยี่ยม
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[612] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัญญาโกณฑัญญเถราปทานที่ 7 จบ

8. ปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
(พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[613] ครั้งนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศ
ประทับอยู่บนภูเขาจิตรกูฏ เบื้องหน้าภูเขาหิมพานต์

เชิงอรรถ :
1 สิ่งทั้งปวง หมายถึงอดีต อนาคต และปัจจุบัน อีกอย่างหนึ่ง หมายถึงเญยยธรรม คือสังขาร วิการ
ลักษณะ นิพพาน และบัญญัติ (ขุ.อป.อ. 1/610/361)
2 อมตเภรี หมายถึงกลองคืออมตมหานิพพาน (ขุ.อป.อ. 1/610/362)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :93 }