เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 6. อุปาลิเถราปทาน
[556] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ได้ไสช้างสิริกะไป
จะให้ทำร้ายพระพุทธเจ้า
เพราะเหตุนั้น ช้างนั้นเหมือนเกิดความโกรธยกเท้าไม่ขึ้น
[557] ข้าพระองค์เห็นช้างเสียใจ จึงโกรธพระพุทธเจ้า
เบียดเบียนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ไปอุทยาน
[558] เพราะการจะให้ช้างทำร้ายนั้นเป็นเหตุ
ข้าพระองค์จึงมิได้ประสบความสำราญ
ศีรษะเป็นเหมือนมีไฟลุกโพลงอยู่
ข้าพระองค์ถูกความเร่าร้อนเผาไหม้อยู่ เหมือนปลาติดเบ็ด
[559] แผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครเป็นที่สุด
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์เป็นดุจไฟลุกท่วม
ข้าพระองค์ได้เข้าเฝ้าพระราชบิดาแล้วกราบทูลคำนี้ว่า
[560] หม่อมฉันได้ทำร้ายพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระสยัมภูพระองค์ใด
ผู้เป็นดังอสรพิษที่ถูกทำให้โกรธ
ดังกองไฟที่ลามมา ดังช้างพลายตัวตกมัน1
[561] พระพุทธชินเจ้า ผู้มีตบะแก่กล้า ถูกข้าพระองค์รุกราน
พวกเราชาวเมืองทั้งปวงจักพินาศ
พวกเราจักขอขมาพระมุนีนั้น

เชิงอรรถ :
1 แปลตามอรรถกถา (ขุ.อป.อ. 1/560/350) ท่านเปรียบพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าว่าเป็นดัง
อสรพิษร้ายบ้าง ดังกองไฟบ้าง ดังราชสีห์ชาติไกรสรบ้าง ดังช้างตกมันบ้าง คนที่เข้าใกล้อสรพิษ กอง
ไฟลุกโชติช่วง ราชสีห์ดุร้าย ช้างตกมัน ย่อมได้รับอันตราย ฉันใด ผู้ที่ทำร้ายพระพุทธเจ้า พระ
ปัจเจกพุทธเจ้า ก็ย่อม ประสบบาปกรรมใหญ่หลวง ก็ฉันนั้น
ดังบาลีว่า
อาสีวิโส ยถา โฆโร มิคราชาว เกสรี
มตฺโตว กุญฺชโร ทนฺโต เอวํ พุทฺธา ทุราสทา.
(ขุ.อป. 32/270/449 )
คาถาที่ 560 นี้ เดิมแปลอสรพิษร้าย และกองไฟเป็นอุปมาของช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :85 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 6. อุปาลิเถราปทาน
[562] หากพวกเราจักไม่ขอขมาพระองค์(พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้มีจิตตั้งมั่น
แว่นแคว้นของเราจักพินาศภายในวันที่ 7
[563] พระเจ้าสุเมขลราช พระเจ้าโกสิยราช
พระเจ้าสิคควราช พระเจ้าสัตตกราชเหล่านั้นพร้อมเสนา
ได้รุกรานท่านฤๅษีทั้งหลายแล้ว ได้ถึงความทุกข์ยาก
[564] ท่านฤๅษีทั้งหลาย ผู้สำรวมแล้ว
ประพฤติประเสริฐ ย่อมโกรธในกาลใด
ในกาลนั้นย่อมทำมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ท้องทะเล และภูเขา ให้พินาศไป
[565] ข้าพระองค์จึงสั่งให้ประชาชนมาประชุมกันในพื้นที่
ประมาณ 3,000 โยชน์ เพื่อต้องการจะแสดงโทษ
จึงเข้าไปหาพระสยัมภูพุทธเจ้า
[566] ประชาชน(พร้อมทั้งข้าพระองค์)ทั้งหมด
มีผ้าเปียก ศีรษะเปียก ประนมมือ
พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระสยัมภูพุทธเจ้า
แล้วได้กราบเรียนคำนี้ว่า
[567] ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก ขอพระคุณเจ้าโปรดยกโทษเถิด
ประชาชนอ้อนวอนพระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าโปรดช่วยบรรเทาความเร่าร้อน
และขอพระคุณเจ้าอย่าได้ทำแว่นแคว้นให้พินาศเลย
[568] มวลมนุษย์พร้อมทั้งเทวดา ทานพ และรากษส1
จะพึงเอาฆ้อนเหล็กทุบศีรษะของข้าพระองค์ ในกาลทุกเมื่อ

เชิงอรรถ :
1 ทานพ หมายถึงอสูรจำพวกหนึ่ง รากษส หมายถึงยักษ์ร้าย, ผีเสื้อน้ำ (ขุ.อป.อ. 1/568/351)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :86 }