เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 6. อุปาลิเถราปทาน
ในหมวดที่ 51 ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยอักขระ(คือสระ)
หรือแม้ในพยัญชนะเลย
[520] ข้าพระองค์ฉลาดในวิธีข่ม ในการกระทำคืน
ในฐานะที่ควรและฐานะที่ไม่ควร
ในการเรียกภิกษุผู้ถูกลงโทษกลับเข้าหมู่
และในการช่วยให้ภิกษุออกจากอาบัติ
ถึงความสำเร็จในการกระทำทางวินัยกรรมทุกอย่าง
[521] ข้าพระองค์ตั้งบทไว้ในวินัยและขันธกะ และขยายอุภโตวิภังค์
เรียก(ภิกษุผู้ถูกลงโทษ)กลับเข้าหมู่โดยกิจ(หน้าที่)
[522] ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติศาสตร์
และฉลาดในประโยชน์และสิ่งมิใช่ประโยชน์
สิ่งที่ข้าพระองค์ไม่รู้ไม่มี
ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศผู้หนึ่งในศาสนาของพระศาสดา
[523] ในวันนี้ ข้าพระองค์มองเห็นรูปคดี2
บรรเทาความสงสัยได้ทุกอย่าง ในศาสนาของพระศากยบุตร
ตัดความลังเลได้หมดสิ้น
[524] ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในฐานะทั้งปวง คือ บทหน้า
บทหลัง อักขระ พยัญชนะ คำเริ่มต้น และคำลงท้าย
[525] เหมือนอย่างพระราชาผู้มีพลัง
ทรงจับไพร่พลของพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์
ให้เดือดร้อน ชนะสงครามแล้ว รับสั่งให้สร้างนครไว้ในที่นั้น
[526] พึงรับสั่งให้สร้างกำแพง รับสั่งให้ขุดคูรอบ ตั้งเสาระเนียด
สร้างซุ้มประตู สร้างป้อมต่าง ๆ ไว้ในนคร เป็นอันมาก

เชิงอรรถ :
1 ในหมวดที่ 5 ในที่นี้ หมายถึงปริวาร (ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก หมวดสุดท้ายใน 5 หมวด คือ อาทิกัมมิกะ
ปาจิตตีย์ มหาวรรค จูฬวรรค ปริวาร) (ขุ.อป.อ. 1/519/341)
2 ข้าพระองค์มองเห็นรูปคดี ในอรรถกถาเป็น รูปทกฺเข แก้ว่า ในคราวมองเห็นรูปก็คือในการวินิจฉัยวินัย
(ขุ.อป.อ. 1/523/342)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :79 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 6. อุปาลิเถราปทาน
[527] พึงรับสั่งให้สร้างถนนสี่แยก ทางแยก
ร้านตลาด จัดสรรไว้เป็นอย่างดี
สร้างศาลสถิตยุติธรรมเป็นที่ตัดสินคดีความไว้ในนครนั้น
[528] เพื่อป้องกันอริราชศัตรู เพื่อจะรู้ช่องทาง(ดีร้าย)
เพื่อดูแลรักษากำลังพล พระราชาเจ้านครนั้น
จึงทรงแต่งตั้งแม่ทัพไว้
[529] เพื่อรักษาสิ่งของ พระองค์จึงทรงแต่งตั้งคนที่ฉลาด
ในการเก็บรักษาสิ่งของ ให้เป็นผู้รักษาสิ่งของ
ด้วยตั้งพระทัยว่า สิ่งของของเราอย่าเสียหายไปเลย
[530] ผู้ใดสมัครสมานกับพระราชา
และปรารถนาความเจริญรุ่งเรืองแก่พระราชา
พระราชาย่อมมอบหน้าที่แก่ผู้นั้น1
เพื่อปฏิบัติตอบแทนต่อมิตร
[531] พระราชาพระองค์นั้น ย่อมทรงแต่งตั้งผู้ที่ฉลาดในลางบอกเหตุ
ในนิมิตและในลักษณะ
ผู้คงแก่เรียน ผู้ทรงมนตร์2 ไว้ในตำแหน่งปุโรหิต

เชิงอรรถ :
1 บาทคาถาว่า สมคฺโค โหติ โส รญฺโ ฉบับพม่าและอรรถกถาเป็น มมตฺโต โหติ โย รญฺโ เดิมแปลว่า
เขาเป็นผู้พร้อมเพรียงกับพระราชา ปรารถนาความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ใด ย่อมมอบหน้าที่ คือความเป็นใหญ่
ในการวินิจฉัยแก่ผู้นั้นเพื่อปฏิบัติเพื่อความเป็นมิตร โส เขาสามัคคีกับพระราชาพอฟังได้ แต่ถ้าจะตั้งคน
ที่ตนชอบพอให้เป็นคนตัดสินคดีความ คงไม่ได้ เพราะ โส คงแทนนามนามที่กล่าวชื่อมาแล้ว คือ คนที่ดูแล
รักษาสิ่งของ ถ้าจะว่า โส แทนบทว่า ราชา ก็ฟังไม่ขึ้น ราชาที่ไหนมาสามัคคีกับราชานี้ จึงแปลตามแนว
ฉบับพม่าและอรรถกถา (มมตฺโต โหติ โย รญฺโติ โย ปณฺฑิโต รญฺโ มมตฺโต มามโก ปกฺขปาโต
โหติ. วุทฺธึ ยสฺส จ อิจฺฉตีติ อสฺส รญฺโ วุฑฺฒึ จ วิรุฬฺหึ โย อิจฺฉติ กาเมติ, ตสฺส อิตฺถมฺภูตสฺส ราชา
อธิกรณํ วินิจฺฉยาธิปจฺจํ เทติ มิตฺตสฺส มิตฺตภาวสฺส ปฏิปชฺชิตุนฺติ สมฺพนฺโธ ขุ.อป.อ. 1/530/344)
2 ผู้ที่ฉลาดลางบอกเหตุ หมายถึงผู้บอกคัมภีร์ไวยากรณ์แก่ศิษย์จำนวนมาก ผู้ทรงจำมนต์ ได้แก่ ผู้ทรง
จำไตรเพท (พระเวท 3 เป็นคัมภีร์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ (1) ฤคเวท ประมวลบทความ
สรรเสริญ เทพเจ้า (2) ยชุรเวท ประกอบด้วยบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ (3) สามเวท
ประมวลบทเพลงขับ สำหรับสวดแล้วร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ
ต่อมาเพิ่มอาถรรพเวท ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์เข้ามาอีกเป็น 4 (ขุ.อป.อ. 1/531/344)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :80 }