เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 6. อุปาลิเถราปทาน
[509] ข้าพระองค์ค้นหาการถือปฏิสนธิในภพก็ไม่เห็น
เพราะข้าพระองค์ไม่มีอุปธิ หลุดพ้นแล้ว(จากกิเลสทั้งปวง)
มีจิตสงบระงับเที่ยวไป
[510] ธรรมดาดอกปทุมพอได้สัมผัสแสงดวงอาทิตย์
ก็แย้มบานทุกเมื่อ ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีความเพียรมาก
ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นบานแล้ว(คือสำเร็จมรรคผลนิพพาน)
เพราะรัศมีแห่งพระพุทธเจ้า
[511] ในกำเนิดนกยาง ย่อมไม่มีนกยางตัวผู้ในกาลทุกเมื่อ
เมื่อเมฆฝนคำรน(เมื่อฟ้าร้อง)
นกยางตัวเมียจึงจะตั้งครรภ์ได้ ในกาลทั้งปวง
[512] นกยางตัวเมียเหล่านั้นจะตั้งครรภ์อยู่นาน
ตราบเท่าที่เมฆฝนยังไม่คำราม
พวกมันจะพ้นจากภาระ(จะออกไข่)
ได้ก็ต่อเมื่อเมฆฝนตกลงมา ฉันใด
[513] ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงคำรนด้วยเมฆฝนคือพระธรรม
ก็ได้ตั้งครรภ์คือธรรม ด้วยเสียงแห่งเมฆฝนคือธรรม
[514] ใช้เวลาตั้ง 100,000 กัป
ข้าพระองค์ จึงจะได้ตั้งครรภ์คือบุญ
ข้าพระองค์ยังไม่พ้นจากภาระ1
ตราบเท่าที่เมฆฝนคือพระธรรมยังไม่คำรน
[515] ข้าแต่พระศากยมุนี พระองค์ทรงคำรน
ด้วยเมฆฝนคือพระธรรมในกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์ในกาลใด
ในกาลนั้นข้าพระองค์ก็จะพ้นจากภาระ

เชิงอรรถ :
1 ภาระ ในที่นี้หมายถึงภาระคือการเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในสังสารวัฏ (ขุ.อป.อ. 1/515/340)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :77 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 6. อุปาลิเถราปทาน
[516] ธรรมแม้นั้น คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ และผล 4 ทั้งปวง
ข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว
ภาณวารที่ 2 จบ

[517] ข้าพระองค์ปรารถนาคำสอนของพระองค์นานจนนับกัปไม่ได้
ข้าพระองค์ได้บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว
ทั้งได้สันติบท1 อันยอดเยี่ยมตามลำดับ
[518] ข้าพระองค์ถึงความสำเร็จในวินัย
เป็นเหมือนภิกษุผู้แสวงคุณผู้มีชื่อเสียง
ไม่มีภิกษุรูปอื่นจะเสมอเหมือนข้าพระองค์
ข้าพระองค์ทรงจำคำสั่งสอนไว้ได้
[519] ในวินัยปิฎกทั้งสิ้นนี้ คือ ในวินัย ในขันธกะ2
ในปริจเฉท 3 (คือ ในสังฆาทิเสส 3 หมวด
และปาจิตตีย์ 3 หมวด)3

เชิงอรรถ :
1 สันติบท หมายถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. 1/517/341)
2 วินัย หมายถึงอุภโตวิภังค์, ขันธกะ หมายถึงมหาวรรคและจุลวรรค (ขุ.อป.อ. 1/519/341)
3 ติกสังฆาทิเสส อาบัติสังฆาทิเสส 3 หมวด เป็นข้อกำหนด 3 ประการของพระวินัยธร ผู้จะตัดสินอธิกรณ์
จะต้องตรวจดูว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ในข้อกำหนดไหน ใน 3 ประการนั้น เช่น นางภิกษุณี เรียกนาง
ภิกษุณีอื่นที่ถูกภิกษุณีสงฆ์ยกออกจากหมู่โดยชอบธรรม ชอบด้วยวินัย ชอบด้วยสัตถุศาสน์ กลับเข้าหมู่
เช่นนี้ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส โดยสถานใดสถานหนึ่ง ในข้อกำหนด 3 ประการ คือ (1) มีความเข้าใจ
กรรมที่ภิกษุณีสงฆ์ทำโดยชอบธรรมว่าเป็นกรรมที่ภิกษุณีสงฆ์ทำโดยชอบธรรมเรียกนางภิกษุณี ที่ถูกลงโทษ
กลับเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (2) มีความสงสัยในกรรมที่ภิกษุณีสงฆ์ทำโดยชอบธรรม เรียกนาง
ภิกษุณีที่ถูกลงโทษกลับเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (3) มีความเข้าใจกรรมที่ภิกษุณีสงฆ์ทำโดยชอบ
ธรรมว่า เป็นกรรมที่ภิกษุณีสงฆ์ทำโดยไม่ชอบธรรม เรียกนางภิกษุณีที่ถูกลงโทษกลับเข้าหมู่ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ติกปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ 3 หมวด คือภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ โดยสถานใดสถานหนึ่ง
ในข้อกำหนด 3 ประการ เช่น ภิกษุเก็บอดิเรกจีวรไว้เกิน 10 วันแล้ว (1) มีความสำคัญว่าเกิน 10
วันแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (2) มีความสงสัยว่าเกิน 10 วันแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (3) มีความสำคัญ
ว่า ยังไม่เกิน 10 วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (ดู วิ.มหา. (แปล) 2/468/4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :78 }