เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [41. เมตเตยยวรรค] 7. เหมกเถราปทาน
[218] ได้ฟังธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว
จักเผากิเลสทั้งหลาย
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[219] ข้าพเจ้ามีความเพียรสำหรับนำพาธุระไป
เป็นความเพียรนำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ข้าพเจ้าปรารถนาประโยชน์สูงสุด อยู่ในศาสนา
[220] นี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
อาสวะทั้งปวงของข้าพเจ้าสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[221] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[222] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา 3 ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[223] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเหมกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เหมกเถราปทานที่ 7 จบ
ภาณวารที่ 17 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :683 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [41. เมตเตยยวรรค] 8. โตเทยยเถราปทาน
8. โตเทยยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโตเทยยเถระ
(พระโตเทยยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[224] ครั้งนั้น (ข้าพเจ้าเกิดเป็น)พระราชาพระนามว่าวิชิตชัย
ในกรุงเกตุมดี เป็นเมืองชั้นเลิศ เป็นผู้แกล้วกล้า
เต็มเปี่ยมด้วยความกล้าหาญ
ประทับอยู่ท่ามกลางกรุง
[225] เมื่อพระราชาพระองค์นั้น ทรงประมาท
ข้าศึกแห่งแว่นแคว้นก็กำเริบขึ้น
ฝ่ายตรงกันข้ามและพวกยุยงก็ทำลายแว่นแคว้น
[226] เมื่อปัจจันตชนบท(ชนบทปลายแดน)กำเริบ
พระราชาจึงรับสั่งให้พลรบและทหารสื่อสารมาประชุมกัน
รับสั่งให้ปราบข้าศึก ในครั้งนั้น
[227] พลช้าง พลม้า ทหารสวมเกราะกล้าหาญ
ทหารแม่นธนู และพลรถ มาประชุมกันทั้งหมด
[228] พวกพ่อครัว พนักงานเครื่องต้น พนักงานสรงสนาน
ช่างทำดอกไม้ เป็นผู้กล้าหาญ
เคยชนะในสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด
[229] พวกชายฉกรรจ์ถือดาบ ถือธนู สวมเกราะหนัง
เป็นคนแข็งแรง เคยชนะในสงคราม
มาประชุมกันทั้งหมด
[230] ช้างมาตังคะตกมัน 3 แห่ง
เสื่อมกำลังเมื่ออายุ 60 ปี มีสายประโคน1

เชิงอรรถ :
1 สายรัดจากใต้สัปคับคือที่นั่งบนหลังช้าง ใช้รัดสัปคับอกช้าง หลังขาหน้าแล้วลอดมาบรรจบกันโยงใต้
ท้องช้างและหน้าขาหลังไปจากสายชนักที่คอช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :684 }