เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [40. ปิลินทวัจฉวรรค] 2. เสลเถราปทาน
[221] พวกเราทั้งหมดนี้มาประชุม
รวมเป็นพวกเดียวกันแล้ว
จักทำบุญกุศลในพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
[222] ญาติเหล่านั้นฟังคำของข้าพเจ้าแล้ว
รวมกันเป็นคณะในขณะนั้นกล่าวว่า
พวกเราควรให้สร้างโรงฉันที่สร้างอย่างสวยงามถวายแด่ภิกษุสงฆ์
[223] ข้าพเจ้าจึงให้สร้างโรงฉันนั้นสำเร็จแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีใจยินดี
มีญาติทั้งหมดนั้นห้อมล้อม
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[224] ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ทรงองอาจกว่านรชน
กราบพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
[225] ข้าแต่พระมุนีวีรเจ้า บุรุษประมาณ 300 คนนี้
รวมกันเป็นคณะ
ขอมอบถวายโรงฉันที่สร้างอย่างสวยงามแด่พระองค์
[226] ขอพระองค์ผู้มีพระจักษุ
เป็นประธานหมู่ภิกษุ โปรดทรงรับเถิด
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ต่อหน้าบุรุษ 300 คนว่า
[227] บุรุษทั้ง 300 คนและผู้เป็นหัวหน้า
ประพฤติตามเป็นหนึ่งเดียวกัน
ท่านทั้งปวงพากันทำแล้ว จักได้เสวยสมบัติ
[228] เมื่อถึงภพสุดท้าย ท่านทั้งหลายจักเห็นนิพพาน
ซึ่งมีภาวะเย็นยอดเยี่ยม ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :611 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [40. ปิลินทวัจฉวรรค] 2. เสลเถราปทาน
[229] พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมกว่าสมณะ
ทรงพยากรณ์อย่างนี้แล้ว
ข้าพเจ้าได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว ได้เสวยโสมนัส
[230] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด 30,000 กัป
เป็นใหญ่ในหมู่เทวดา ครองเทวสมบัติตลอด 500 ชาติ
[231] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 1,000 ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[232] ในรัชสมบัติในมนุษยโลกนี้
มีพวกญาติเป็นบริวาร
ในภพสุดท้ายที่มาถึงนี้ มีพราหมณ์ชื่อวาเสฏฐะ
[233] ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์นั้น
สะสมสมบัติไว้ 80 โกฏิ
ข้าพเจ้ามีนามว่าเสละถึงความสำเร็จในองค์ 61
[234] มีพวกศิษย์ของตนแวดล้อม
เดินเที่ยวพักผ่อนอิริยาบถ ดาบสชื่อเกนิยะ
ผู้เพียบพร้อมด้วยชฎาและบริขาร จัดแจงเครื่องบูชา
[235] ข้าพเจ้าได้เห็นท่านแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า
ท่านจักทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคล
หรือว่าท่านเชื้อเชิญพระราชา
[236] ดาบสชื่อเกนิยะตอบว่า
ข้าพเจ้าใคร่จะใช้เครื่องบูชา

เชิงอรรถ :
1 องค์ 6 ในที่นี้หมายถึงมนตร์พรหมจินดา 6 คือ (1) กัปปศาสตร์ (2) พยากรณ์ศาสตร์ (3) นิรุตติ-
ศาสตร์ (4) สิกขาศาสตร์ (5) ฉันโทวิจิติศาสตร์ (6) โชติสัตถศาสตร์ (ขุ.วิ.อ. 996/309, ที.สี.อ.
256/223)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :612 }