เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
[279] ท่านผู้นี้ เคลื่อนไหวกิริยาท่าทางน่าเลื่อมใส
รูปงาม สำรวมดี ฝึกฝนแล้วในอุบายเครื่องฝึกอย่างสูงสุด
คงจะเป็นผู้เห็นทางอมตะ
[280] ทางที่ดี เราควรจะถามท่านผู้มีประโยชน์อย่างสูงสุด
ผู้มีจิตยินดี หากท่านถูกเราถามแล้วจักตอบ
เราก็จะย้อนถามท่านอีก ในครั้งนั้น
[281] ข้าพระองค์ได้เดินตามไปข้างหลังท่านผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต
รอคอยโอกาสอยู่เพื่อจะสอบถามทางอมตะ
[282] จึงเข้าไปหาท่านซึ่งอยู่ในระหว่างถนนแล้วถามว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มีความเพียร
ท่านมีโคตรตระกูลอย่างไร เป็นศิษย์ของใคร
[283] ท่านถูกข้าพระองค์ถามแล้วก็ไม่ครั่นคร้าม
เป็นดังพญาไกรสรราชสีห์ตอบว่า
ท่านผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
อาตมาเป็นศิษย์ของพระองค์
[284] (ข้าพระองค์ได้ถามต่อไปว่า)
ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก ท่านผู้มียศยิ่งใหญ่เกิดตามมา
ศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าของท่านเป็นเช่นไร
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอโอกาส
ขอท่านโปรดบอกแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
[285] ท่านถูกข้าพระองค์ถามแล้ว
จึงแสดงบททุกบทที่ลึกซึ้งละเอียด
สำหรับกำจัดลูกศรคือตัณหา
สำหรับเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงว่า
[286] ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :45 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติตรัสสอนอย่างนี้
[287] เมื่อพระอัสสชิเถระแก้ปัญหาแล้ว
ข้าพระองค์นั้นได้บรรลุผลที่หนึ่ง(โสดาปัตติผล)
เป็นผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ปราศจากมลทินคือกิเลส เพราะได้ฟังคำสอนของพระชินเจ้า
[288] ข้าพระองค์ได้ฟังคำของพระมุนีแล้ว
ได้เห็นธรรมอันสูงสุด หยั่งรู้พระสัทธรรมจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
[289] ถ้ามีเพียงเท่านั้น ธรรมนี้นั่นแหละ(ที่ข้าพเจ้าพึงบรรลุ)
ท่านรู้แจ้งทางที่ไม่เศร้าโศก1
ซึ่งข้าพเจ้าไม่เห็นแล้ว ล่วงเลยมาหลายหมื่นกัป
[290] ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาธรรม ได้เที่ยวไปในลัทธิที่ผิด
(บัดนี้)ได้บรรลุความประสงค์นั้นแล้ว
จึงมิใช่เวลาที่ข้าพเจ้าจะประมาท
[291] ข้าพระองค์ที่พระอัสสชิเถระให้ยินดีแล้ว
บรรลุทางที่ไม่หวั่นไหว2 เมื่อจะไปเสาะหาสหาย
จึงได้ไปยังอาศรม
[292] สหายของข้าพระองค์ ผู้ได้ศึกษามาดี
เพียบพร้อมด้วยอิริยาบถ เห็นข้าพระองค์แต่ไกลเทียว
จึงได้กล่าวคำนี้ว่า
[293] ท่านมีหน้าตาผ่องใส ปรากฏประหนึ่งว่าจะเป็นมุนี
ท่านได้บรรลุอมตนิพพานหรือได้บรรลุบทคือพระนิพพานอันไม่จุติ

เชิงอรรถ :
1 ทางที่ไม่เศร้าโศก หมายถึงนิพพาน (ขุ.อป.อ. 1/289/278)
2 ทางที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงการถึงนิพพาน (ขุ.อป.อ. 1/291/278)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :46 }