เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [28. สุวัณณพิพโพหนวรรค] 6. โปตถทายกเถราปทาน
[21] ในกัปที่ 92 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำเครื่องลาดดอกไม้ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเครื่องลาด
[22] ในกัปที่ 14 นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าเอกอัญชลิกะ
เป็นใหญ่ในมนุษย์ มีพลานุภาพมาก
[23] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกัญชลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกัญชลิยเถราปทานที่ 5 จบ

6. โปตถทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโปตถทายกเถระ
(พระโปตถทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[24] ข้าพเจ้าปรารภพระศาสดา ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระธรรม และพระสงฆ์
ได้ถวายผ้าเปลือกไม้ไว้ในพระรัตนตรัย
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ
[25] ในกัปที่ 91 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าเปลือกไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :437 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [28. สุวัณณพิพโพหนวรรค] 7. จิตกปูชกเถราปทาน
[26] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโปตถทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โปตถทายกเถราปทานที่ 6 จบ

7. จิตกปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจิตกปูชกเถระ
(พระจิตกปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[27] ข้าพเจ้าเที่ยวไปตามกระแสน้ำ ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
เก็บดอกย่านทราย 7 ดอก มาบูชาจิตกาธาน
[28] ในกัปที่ 94 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาจิตกาธานไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาน
[29] ในกัปที่ 67 นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่าปฏิชัคคะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ มีพลานุภาพมาก
[30] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จิตกปูชกเถราปทานที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :438 }