เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [26. โถมกวรรค] 9. กุฏิทายกเถราปทาน
[30] ในกัปที่ 94 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายใบไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายใบไม้
[31] ในกัปที่ 27 (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ายทัตถิยะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ มีพลานุภาพมาก
[32] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปัณณทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปัณณทายกเถราปทานที่ 8 จบ

9. กุฏิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุฏิทายกเถระ
(พระกุฏิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[33] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเที่ยวไปตามราวป่า
ประทับอยู่ที่โคนไม้
ข้าพเจ้าได้สร้างบรรณศาลา
ถวายแด่พระองค์ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[34] ในกัปที่ 91 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายกุฎีใบไม้ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :421 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [26. โถมกวรรค] 10. อัคคปุปผิยเถราปทาน
[35] ในกัปที่ 38 นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 16 ชาติ
มหาชนพากันขนานพระนามว่าอภิวัสสี ทุก ๆ ชาติ
[36] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุฏิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุฏิทายกเถราปทานที่ 9 จบ

10. อัคคปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัคคปุปผิยเถระ
(พระอัคคปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[37] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีดุจกองเพลิง
[38] ข้าพเจ้าถือดอกบัว
เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนรชนผู้สูงสุด
มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้บูชาพระพุทธเจ้า
[39] ในกัปที่ 31 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[40] ในกัปที่ 25 (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามิตตฆาตกะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ มีพลานุภาพมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :422 }