เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [24. อุทกาสนทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
10. วาสิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวาสิทายกเถระ
(พระวาสิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[36] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นช่างทองอยู่ในติวรานครที่ล้ำเลิศ
ข้าพเจ้าได้ถวายมีดเล่มหนึ่งแด่พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[37] ในกัปที่ 94 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายมีดไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายมีด
[38] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวาสิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วาสิทายกเถราปทานที่ 10 จบ
อุทกาสนทายกวรรคที่ 24 จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อุทกาสนทายกเถราปทาน 2. ภาชนทายกเถราปทาน
3. สาลปุปผิยเถราปทาน 4. กิลัญชทายกเถราปทาน
5. เวทิทายกเถราปทาน 6. วัณณการกเถราปทาน
7. ปิยาลปุปผิยเถราปทาน 8. อัมพยาคทายกเถราปทาน
9. ชคติการกเถราปทาน 10. วาสิทายกเถราปทาน

และมีคาถา 38 คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :406 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [25. ตุวรทายิวรรค] 2. นาคเกสริยเถราปทาน
25. ตุวรทายิวรรค
หมวดว่าด้วยพระตุวรทายิเป็นต้น
1. ตุวรัฏฐิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตุวรัฏฐิทายกเถระ
(พระตุวรัฏฐิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[1] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ
อาศัยอยู่ในป่าดงทึบ ข้าพเจ้าเห็นถั่วแดงนั้นแล้ว
จึงได้นำมาถวายแด่พระสงฆ์
[2] ในกัปที่ 91 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายก้อนถั่วแดง
[3] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตุวรัฏฐิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตุวรัฏฐิทายกเถราปทานที่ 1 จบ

2. นาคเกสริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาคเกสริยเถระ
(พระนาคเกสริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[4] ข้าพเจ้าโก่งสายธนูแล้ว เข้าไปยังท่ามกลางป่า
ได้เห็นต้นบุนนาคมีดอกเป็นพวง ขึ้นอยู่ใกล้ทางเดิน
[5] จึงใช้มือทั้ง 2 ประคอง
กระทำอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้าแล้ว
ได้บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :407 }