เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [22. หัตถิวรรค] 3. สัจจสัญญกเถราปทาน
3. สัจจสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัจจสัญญกเถระ
(พระสัจจสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[11] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเวสสภู
มีหมู่ภิกษุแวดล้อม ทรงแสดงอริยสัจช่วยมหาชนให้สงบเย็น
[12] ข้าพเจ้าถึงความเป็นคนน่าสงสารอย่างยิ่ง
ได้ไปสู่ที่ประชุม นั่งฟังธรรมของพระศาสดา
[13] ข้าพเจ้าครั้นฟังธรรมของพระศาสดานั้นแล้ว
(ตายแล้ว)ได้ไปเกิดยังเทวโลก อยู่ในเทพบุรีนั้นตลอด 30 กัป
[14] ในกัปที่ 31 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ความทรงจำไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสัจจสัญญา(การได้ความทรงจำในสัจจะ)
[15] ในกัปที่ 26 นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง มีพระนามว่าเอกผุสสิตะ
ทรงเป็นใหญ่ในหมู่ชน มีพลานุภาพมาก
[16] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัจจสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัจจสัญญกเถราปทานที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :381 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [22. หัตถิวรรค] 5. รังสิสัญญกเถราปทาน
4. เอกสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกสัญญกเถระ
(พระเอกสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[17] ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลของพระศาสดา
คล้องอยู่บนยอดไม้ จึงได้ประคองอัญชลีไหว้ผ้าบังสุกุล
[18] ในกัปที่ 31 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ความทรงจำไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[19] ในกัปที่ 25 นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง มีพระนามว่าอมิตาภะ
เป็นใหญ่ในหมู่ชน มีพลานุภาพมาก
[20] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกสัญญกเถราปทานที่ 4 จบ

5. รังสิสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระรังสิสัญญกเถระ
(พระรังสิสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[21] พระพุทธเจ้าผู้มีพระรัศมีรุ่งเรืองดุจดวงอาทิตย์อุทัยและดวงจันทร์
องอาจดังเสือโคร่ง มีชาติตระกูลประเสริฐ
ประทับอยู่ในระหว่างภูเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :382 }