เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [19. กุฏชปุปผิยวรรค] 5. อิสิมุคคทายกเถราปทาน
5. อิสิมุคคทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอิสิมุคคทายกเถระ
(พระอิสิมุคคทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[24] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงเป็นผู้นำ มีพระรัศมีรุ่งเรืองดุจดวงอาทิตย์อุทัย
ดุจดวงจันทร์ ดุจต้นรกฟ้าที่งดงาม
[25] ข้าพเจ้าแม้ยืนอยู่ในปราสาท
ก็นิมนต์พระฤๅษีผู้ยิ่งใหญ่
แล้วได้ถวายรวงผึ้งเล็กที่ไม่มีตัวอ่อนแด่พระองค์
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก
[26] ข้าพเจ้าได้ถวายน้ำผึ้งจนเต็มบาตรสาวกของพระพุทธเจ้า
ประมาณ 800,000 รูป หรือมากกว่านั้น
[27] ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จึงไม่ไปเกิดในทุคติเลยตลอด 100,000 กัป
[28] ในกัปที่ 40,000 (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 38 ชาติ
มีพระนามว่ามหิสมันตะ มีพลานุภาพมาก
[29] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4
วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอิสิมุคคทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อิสิมุคคทายกเถราปทานที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :351 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [19. กุฏชปุปผิยวรรค] 7. เอกจินติกเถราปทาน
6. โพธิอุปัฏฐายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิอุปัฏฐายกเถระ
(พระโพธิอุปัฏฐายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[30] ข้าพเจ้าเป็นคนตีตะโพนอยู่ในกรุงรัมมวดี
จึงไปยังต้นโพธิ์ที่ประเสริฐ
ประกอบทำการบำรุงเป็นนิตย์
[31] ข้าพเจ้าบำรุงทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า
ถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จึงไม่ไปเกิดในทุคติเลยตลอด 118 กัป
[32] ในกัปที่ 115 นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่าทมถะ
เป็นใหญ่ในหมู่ชน มีพลานุภาพมาก
[33] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8
และอภิญญา 6 ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิอุปัฏฐายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โพธิอุปัฏฐายกเถราปทานที่ 6 จบ

7. เอกจินติกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกจินติกเถระ
(พระเอกจินติกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[34] ในกาลใด เทวดาจะจุติจากหมู่เทวดาเพราะสิ้นอายุ
ในกาลนั้น เทวดาผู้พลอยยินดีย่อมเปล่งเสียง 3 ประการว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :352 }