เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
ยินดีในฌานในกาลทุกเมื่อ
สำเร็จอภิญญาพละ 51 ประการ
[175] ข้าพเจ้ามีศิษย์ 1,024 คน ทั้งหมดนั้น
เป็นพราหมณ์ มีชาติตระกูล มียศ
ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่
[176] ศิษย์ของข้าพเจ้าเข้าใจตัวบท(หลักไวยากรณ์)
ฉลาดในการพยากรณ์ สำเร็จวิชาทำนายลักษณะ
วิชาอิติหาสศาสตร์ และไตรเพทอันเป็นธรรมของตน
พร้อมทั้งวิชานิฆัณฑุศาสตร์ และวิชาเกฏุภศาสตร์2
[177] ศิษย์ของข้าพเจ้าฉลาดในลางบอกเหตุ
ในนิมิตร และในลักษณะ
เป็นผู้ศึกษาดีแล้วในเรื่องดิน
ในภาคพื้นดิน และในอากาศ
[178] ศิษย์เหล่านั้นเป็นผู้มักน้อย
มีปัญญารักษาตน บริโภคแต่น้อย ไม่โลภ
สันโดษตามมีตามได้ ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[179] ศิษย์ของข้าพเจ้ามีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌาน
เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ มีจิตตั้งมั่น
ปรารถนาความหมดกังวล ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ

เชิงอรรถ :
1 อภิญญาพละ 5 คือ แสดงฤทธิ์ได้ หูทิพย์ รู้ใจผู้อื่น ระลึกชาติได้ และตาทิพย์ (ขุ.อป.อ. 1/174/263)
2 วิชาทำนายลักษณะ หมายถึงคัมภีร์ประกาศลักษณะของหญิงและบุรุษชาวโลกทั้งหมดมีทุกข์และสุข
อิติหาสศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ชี้แจงคำพูดที่ท่านกล่าวว่า อิติห อาสา
นิฆัณฑุศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ประกาศชื่อต้นไม้และภูเขาเป็นต้น
เกฏุภศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยวิชาการกวี (ขุ.อป.อ. 1/176/263, ดูเชิงอรรถเล่ม 9 ข้อ 256)
ไตรเพท หมายถึงพระเวท 3 คือ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. 2/59/163)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :31 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 3. เถราปทาน 1. สารีปุตตเถราปทาน
[180] ศิษย์ของข้าพเจ้าสำเร็จอภิญญา
ยินดีในอาหารซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของบิดา1
เหาะไปมาทางอากาศได้
เป็นนักปราชญ์ ปรนนิบัติข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[181] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น สำรวมทวารทั้ง 6
ไม่หวั่นไหว2 รักษาอินทรีย์ และไม่คลุกคลี
เป็นนักปราชญ์3 หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
[182] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้นหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ให้เวลาผ่านไปด้วยการนั่งขัดสมาธิ
การยืน และการจงกรม ตลอดคืน
[183] ศิษย์ของข้าพเจ้าไม่กำหนัดในวัตถุที่น่ากำหนัด
ไม่ขัดเคืองในวัตถุที่น่าขัดเคือง
ไม่ลุ่มหลงในวัตถุที่น่าลุ่มหลง หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
[184] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ด้วยการแข่งดีทดลองแสดงฤทธิ์อยู่เป็นนิตย์
บันดาลให้แผ่นดินไหวได้
[185] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
เมื่อจะเล่น ก็เล่นฌาน(เข้าฌาน)
ไปนำผลหว้ามาได้
[186] ศิษย์ของข้าพเจ้านั้น พวกหนึ่งไปอปรโคยานทวีป
พวกหนึ่งไปปุพพวิเทหทวีป พวกหนึ่งไปอุตตรกุรุทวีป

เชิงอรรถ :
1 บาลี เปตฺติเก โคจเร รตา ยินดีในอาหารซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของบิดา หมายถึงยินดีในอาหารที่ได้ไม่ใช่ออกปากขอ
(ขุ.อป.อ. 1/180/264)
2 ไม่หวั่นไหว ในที่นี้หมายถึงไม่มีตัณหาเป็นเหตุให้หวั่นไหว (ขุ.อป.อ. 1/181/265)
3 เป็นนักปราชญ์ ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้มั่นคง ไม่สะทกสะท้านถึงอันตรายที่เกิดจากสัตว์มีราชสีห์และเสือ
เป็นต้น (ขุ.อป.อ. 1/180/265)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :32 }