เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 2. ปัจเจกพุทธาปทาน
บุคคลสัมผัสวิมุตติใด ซึ่งกิดขึ้นตามสมัย 1
วิมุตตินั้น เป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคล
ผ้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้แล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[111] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
(พระปัจเจกพุทธเจ้า) ประพฤติล่วงทิฎฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม2
ถึงนิยาม3 ได้เฉพาะมรรคแล้ว4
เป็นผู้มีญาณอันเกิดขึ้นแล้ว
ไม่ต้องให้ผู้อื่นแนะนำ
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[112] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
(พระปัจเกจพุทธเจ้า) เป็นผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่กระหาย
ไม่มีความลบหลู่ กำจัดสภาวะ (กิเลสดุจนำย้อม) และโมหะได้แล้ว
เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

เชิงอรรถ :
1 หมายถึง สามยิกวิมุตติ ความหลุดพ้นเฉพาะสมัยที่จิตแน่วแน่ สา หิ (โลกิยสมาปตฺติ) เอว ปจฺจตฺถิเกหิ
วิมุจฺจนโต สามยิกา วิมุตฺตีติ วุจฺจติ ขุ.อป.อ. 1/110/218-2119, สามยิกํ เจโตวิมุตฺตินฺติ
อปฺปิตปฺปิตกฺขเณ ปจฺจนีกธมฺเมหิ วิมุจฺจติ.... โลกิยสมาปตฺติ สามยิกา เจโตวิมุตฺติ นาม สํ.ส.อ. 11/59/
174, ลทฺธตฺตา สามยิกํ ชื่อว่าสามยิกะ เพราะได้เฉพาะสมัย), เป็นคุณที่เสื่อมได้ (อายสฺมา โคธิโก
อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต สามยิกํ เจโตวิมุตฺตึ ผุสิ... สามยิกาย เจโตวิมุตฺติยา หริหายิ
ท่านโคธิกะ ไม่ประมาท มีความเพียรในความหลุดพ้น 68 อย่าง (ดู ขุ.ป. (แปล) 31/209/346)
เป็นโลกิยสมาบัติ พระอรรถกถาจารย์กล่าวตามภาษิตของพระสารีบุตรเถระ (กตโม สามยิโก วิโมกฺโข
จตฺตาริ จ ฌานานิ จตสฺโส จ อรูปสมาปตฺติโย อยฺ สามยิโก วิโมกฺโข) ความหลุดพ้นเฉพาะสมัย คือ
รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 (สามบัติ 8 ก็เรียก)
2 ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ 62 (ขุ.อป.อ. 1/111/219)
3 ถึงนิยาม ในที่นี้หมายถึงบรรลุโสดาปัตติมรรค (ขุ.อป.อ. 1/111/219)
4 ได้มรรคแล้ว หมายถึงได้มรรคที่เหลือ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) (ขุ.อป.อ.
1/111/219)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :19 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [1. พุทธวรรค] 2. ปัจเจกพุทธาปทาน
[113] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
บุคคลพึงละเว้นสหายชั่ว
ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมที่ผิด
ไม่พึงคบผู้ขวนขวาย และผู้ประมาทด้วยตนเอง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[114] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
บุคคลพึงคบมิตรผู้ได้ศึกษามาก1 ทรงธรรม
ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว
พึงกำจัดความสงสัยได้
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[115] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
(พระปัจเจกพุทธเจ้าฉ ไม่ชื่นชมการเล่น
ความยินดีแลัะความสุขในโลก ไม่ใส่ใจ
งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[116] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
(พระปัจเจกพุทธเจ้า) ละทิ้งบุตร ภรรยา
บิดา มารดา ทรัพย์ ธัญชาติ
พวกพ้องและกามตามส่วนแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด
[117] (พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า)
กามนี้เป็นเครื่องข้อง
มีความสุขน้อย

เชิงอรรถ :
1 ศึกษามาก หมายถึงศึกษา 2 อย่าง คือ ศึกษาในปริยัติอันมั่นคงคือพระไตรปิฎก และศึกษาในปฏิเวธ
อันเป็นเครื่องรู้แจ้งมรรค ผล วิชชา และอภิญญา (ขุ.อป.อ. 1/114/224)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 32 หน้า :20 }