เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 10. โคตรภูญาณนิทเทส
10. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่
ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
โคตรภูธรรม 10 ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤตมีเท่าไร
คือ โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมี 15 ฝ่ายอัพยากฤตมี 3 ฝ่ายอกุศลไม่มี
โคตรภูธรรม 8 ประการ คือ
(1) มีอามิส1 (2) ไม่มีอามิส
(3) มีที่ตั้ง 2(4) ไม่มีที่ตั้ง
(5) เป็นสุญญตะ 3(6) เป็นวิสุญญตะ
(7) เป็นวุฏฐิตะ4 (8) เป็นอวุฏฐิตะ
8 ประการเป็นปัจจัยแห่งสมาธิ
10 ประการเป็นโคจรแห่งญาณ
18 ประการเป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ 3
อาการ 18 ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้วด้วยปัญญา
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในญาณ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภูญาณ
โคตรภูญาณนิทเทสที่ 10 จบ

เชิงอรรถ :
1 อามิส ในที่นี้หมายถึงวัฏฏามิส โลกามิส และกิเลสามิส (ขุ.ป.อ. 1/60/295)
2 ที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ขุ.ป.อ. 1/60/295)
3 สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงโคตรภูธรรมที่ประกอบด้วยนิกันติ (ขุ.ป.อ. 1/60/295)
4 วุฏฐิตะ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาโคตรภูญาณ (ขุ.ป.อ. 1/60/295)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :98 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 11. มัคคญาณนิทเทส
11. มัคคญาณนิทเทส
แสดงมัคคญาณ
[61] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและ
หลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจาก
มิจฉากัมมันตะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :99 }