เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 9. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
3. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
4. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
5. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
6. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
7. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
8. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
9. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สุญญตวิหาร-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
10. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณ 10 อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
[58] สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤต
มีเท่าไร
สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมี 15 ฝ่ายอัพยากฤตมี 3 ฝ่ายอกุศลไม่มี
ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่
8 ประการเป็นอารมณ์ของสมาธิจิต
2 ประการเป็นอารมณ์ของปุถุชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :93 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 10. โคตรภูญาณนิทเทส
3 ประการเป็นอารมณ์ของพระเสขะ
และ 3 ประการเป็นเหตุให้จิต
ของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป
8 ประการเป็นปัจจัยแก่สมาธิ
10 ประการเป็นอารมณ์แห่งญาณ
สังขารุเปกขา 18 ประการ
เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ 3
ปัญญา 18 ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้ว
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณนิทเทสที่ 9 จบ

10. โคตรภูญาณนิทเทส
แสดงโคตรภูญาณ
[59] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความเป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :94 }