เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 9. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อละสังโยชน์ 31 เพื่อต้องการได้
โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป
เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ 3 ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะต่างกันโดย
สภาวะที่ละกิเลสได้กับสภาวะที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ
ต่างกันอย่างไร
คือ พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาบ้าง เห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้ว
เข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้วเข้า
ผลสมาบัติบ้าง เพ่งเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้วอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตต-
วิหารสมาบัติหรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
[57] สังขารุเปกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขาเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ สังขารุเปกขา 8 อย่างเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา 10 อย่าง
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
สังขารุเปกขา 8 อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
1. ปัญญาที่พิจารณานิวรณ์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

เชิงอรรถ :
1 สังโยชน์ 3 ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส (ขุ.ป.อ. 1/56/290)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :91 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 9. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
2. ปัญญาที่พิจารณาวิตกวิจารแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
3. ปัญญาที่พิจารณาปีติแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
4. ปัญญาที่พิจารณาสุขและทุกข์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้
จตุตถฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
5. ปัญญาที่พิจารณารูปสัญญา ปฏิฆสัญญานานัตตสัญญาแล้วดำรงมั่น
อยู่ เพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ
6. ปัญญาที่พิจารณาอากาสานัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
7. ปัญญาที่พิจารณาวิญญาณัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
8. ปัญญาที่พิจารณาอากิญจัญญายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขา 8 อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
สังขารุเปกขา 10 อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
1. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
2. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :92 }