เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 9. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน
ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ
เสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะเป็นกุศล เป็นอัพยากฤต
อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชน บางคราวปรากฏชัด1 บางคราวไม่ปรากฏชัด
แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ บางคราวก็ปรากฏชัด บางคราวไม่ปรากฏชัด
สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมปรากฏชัดโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดย
สภาวะที่ปรากฏกับสภาวะที่ไม่ปรากฏอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้พระเสขะ
ย่อมเห็นแจ้งเพราะยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อม
เห็นแจ้งเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน
ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะที่เสร็จกิจแล้วกับ
สภาวะที่ยังไม่เสร็จกิจอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 บางคราวปรากฏชัด หมายถึงปรากฏชัดในเวลาเจริญวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. 1/56/290)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :90 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 9. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อละสังโยชน์ 31 เพื่อต้องการได้
โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป
เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ 3 ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะต่างกันโดย
สภาวะที่ละกิเลสได้กับสภาวะที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ
ต่างกันอย่างไร
คือ พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาบ้าง เห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้ว
เข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้วเข้า
ผลสมาบัติบ้าง เพ่งเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้วอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตต-
วิหารสมาบัติหรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
[57] สังขารุเปกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขาเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ สังขารุเปกขา 8 อย่างเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา 10 อย่าง
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
สังขารุเปกขา 8 อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
1. ปัญญาที่พิจารณานิวรณ์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

เชิงอรรถ :
1 สังโยชน์ 3 ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส (ขุ.ป.อ. 1/56/290)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :91 }