เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม 7 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ 71
ธรรม 8 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ 8
ธรรม 9 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร 9
ธรรม 10 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ 102
[3] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ จักขุ (ตา) ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง จักขุวิญญาณควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัสควรรู้ยิ่ง
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
โสตะ (หู) ควรรู้ยิ่ง สัททะ (เสียง) ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ควรรู้ยิ่ง คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ควรรู้ยิ่ง รส ฯลฯ
กาย ควรรู้ยิ่ง โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ฯลฯ
มโน (ใจ) ควรรู้ยิ่ง ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง มโนวิญญาณควรรู้ยิ่ง มโนสัมผัส
ควรรู้ยิ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง เวทนาควรรู้ยิ่ง สัญญาควรรู้ยิ่ง สังขารควรรู้ยิ่ง วิญญาณควรรู้ยิ่ง
จักขุควรรู้ยิ่ง โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน... รูป ... สัททะ ...
คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 นิททสวัตถุ 7 ได้แก่ (1) การสมาทานสิกขาบท (2) ความเอาใจใส่สังเกตธรรม (3) การกำจัดความริษยา
(4) ความหลีกเร้น (5) การปรารภความเพียร (6) ความมีสติและมีปัญญารักษาตน (7) การรู้แจ้งทิฏฐิ
(ขุ.ป.อ. 1/2/80)
2 นิชชรวัตถุ 10 หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ
อีก 2 จึงเป็น 10 (ขุ.ป.อ. 1/2/84)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :9 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้ง
อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ... ชิวหาวิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
... ฆานสัมผัส (ความกระทบทางกลิ่น) ... ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ...
กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ... มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัสสชา-
เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจาก
สัมผัสทางจมูก) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ... กาย-
สัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนา
เกิดจากสัมผัสทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ...
คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ... รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา
(ความหมายรู้สัมผัสทางกาย) ... ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง
รูปตัณหา (อยากได้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททตัณหา (อยากได้เสียง) ... คันธตัณหา
(อยากได้กลิ่น) ... รสตัณหา (อยากได้รส) ... โผฏฐัพพตัณหา (อยากได้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมตัณหา (อยากได้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับเสียง) ...
คันธวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรส) ... โผฏฐัพพ-
วิตก (ความตรึกเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :10 }