เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 9. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การที่พระโยคาวจรเห็นความไม่เกิดขึ้น
ความไม่เป็นไป อนิมิต
ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
และความไม่มีปฏิสนธิว่าเป็นสุข
นี้เป็นญาณในสันติบท
อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ 5
ญาณในสันติบทย่อมเกิดขึ้นในฐานะ 5
พระโยคาวจรรู้ชัดญาณ 10 ประการ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า
อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณนิทเทสที่ 8 จบ

9. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แสดงสังขารุเปกขาญาณ
[54] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเกิดขึ้น พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเป็นไป พิจารณาและ
ดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากนิมิต ... จาก
กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... จากปฏิสนธิ ... จากคติ ... จากความบังเกิด ... จาก
ความอุบัติ ... จากความเกิด ... จากความแก่ ... จากความเจ็บไข้ ... จากความตาย ...
จากความเศร้าโศก ... จากความรำพัน ... ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความ
คับแค้นใจ พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :86 }