เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 7. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ
ราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
การก้าวลงสู่อารมณ์ การหลีกไปด้วยปัญญา
การคำนึงถึงที่มีกำลัง ชื่อว่าปฏิสังขาวิปัสสนา1
การกำหนดธรรม 2 ประการ2
ว่ามีสภาวะอย่างเดียวกันกับอารมณ์ปัจจุบัน
ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่าวยลักขณวิปัสสนา3
การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว
พิจารณาเห็นความดับแห่งจิต
และความปรากฏโดยสุญญตะ
ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา4
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสสนา 3
และวิปัสสนา 4 ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ 3 ประการ5
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับไป
ชื่อว่าวิปัสสนาญาณ
ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทสที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 ปฏิสังขาวิปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาอารมณ์แล้วเห็นความดับ (ขุ.ป.อ. 1/52/279)
2 ธรรม 2 ประการ ได้แก่ สังขารที่เป็นอดีตและที่เป็นอนาคต (ขุ.ป.อ. 1/52/279)
3 วยลักขณวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งซึ่งมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ (ขุ.ป.อ. 1/52/279)
4 อธิปัญญาวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา ( ขุ.ป.อ. 1/52/279)
5 ความปรากฏ 3 ประการ ได้แก่ ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, ความว่างเปล่า (ขุ.ป.อ. 1/52/280)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :83 }