เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (10)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (11)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (12)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (13)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (14)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (15)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (16)
[2] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม 1 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
ธรรม 2 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ 2
ธรรม 3 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ 3
ธรรม 4 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ 4
ธรรม 5 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ 5
ธรรม 6 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ 6

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :8 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม 7 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ 71
ธรรม 8 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ 8
ธรรม 9 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร 9
ธรรม 10 อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ 102
[3] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ จักขุ (ตา) ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง จักขุวิญญาณควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัสควรรู้ยิ่ง
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
โสตะ (หู) ควรรู้ยิ่ง สัททะ (เสียง) ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ควรรู้ยิ่ง คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ควรรู้ยิ่ง รส ฯลฯ
กาย ควรรู้ยิ่ง โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ฯลฯ
มโน (ใจ) ควรรู้ยิ่ง ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง มโนวิญญาณควรรู้ยิ่ง มโนสัมผัส
ควรรู้ยิ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง เวทนาควรรู้ยิ่ง สัญญาควรรู้ยิ่ง สังขารควรรู้ยิ่ง วิญญาณควรรู้ยิ่ง
จักขุควรรู้ยิ่ง โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน... รูป ... สัททะ ...
คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
1 นิททสวัตถุ 7 ได้แก่ (1) การสมาทานสิกขาบท (2) ความเอาใจใส่สังเกตธรรม (3) การกำจัดความริษยา
(4) ความหลีกเร้น (5) การปรารภความเพียร (6) ความมีสติและมีปัญญารักษาตน (7) การรู้แจ้งทิฏฐิ
(ขุ.ป.อ. 1/2/80)
2 นิชชรวัตถุ 10 หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ
อีก 2 จึงเป็น 10 (ขุ.ป.อ. 1/2/84)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :9 }